Menu

Friday, January 4, 2008

The Lord of the Debt


[image by: Daveybot @ flickr]

"Need to have or Nice to have?" -- แฟนเราพูดประโยคที่มีคนพูดให้ฟังมาอีกที
เป็นประโยคเตือนสติที่ดีก่อนที่จะตัดสินใจจ่ายเงินทำอะไรในยุคที่ผู้คนจำนวนมากมีหนี้ท่วมหัว
มีบริการกู้ยืม-สินเชื่อ-เครดิต หรือชื่ออะไรๆก็ตามออกมาเยอะมาก แต่ใจความของมันก็คือ"หนี้"
มันคือการใช้เงินที่เราไม่ได้มีอยู่ไปก่อน เพื่อความต้องการเพียงชั่วขณะนั้น ก่อนที่จะไปขวนขวายหาทางจ่ายภายหลัง
และเกือบจะแน่นอนว่าถ้าตอนนี้ไม่มีปัญญาจ่าย การจะหาเงินมาจ่ายทีหลังนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

เราเคยได้ดูรายการข่าวเกี่ยวกับกลุ่มผู้ติดหนี้บัตรเครดิตและไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้
ลักษณะเหมือนกันของคนเหล่านี้คือขาดความยับยั้งใจ ขาดการไตร่ตรองก่อนตัดสินใจซื้อของใดๆ
สิ่งที่ตามมาก็คือไม่รู้ตัวว่าเป็นหนี้ และไม่ยอมรับสภาความเป็นลูกหนี้นั้น
รับไม่ได้ที่โดนเจ้าหนี้โทรมาทวงเงิน ทั้งกับตัวเอง คนในครอบครัว หรือที่ทำงาน
ถึงขนาดมีการร้องเรียนหน่วยงานต่างๆ และจะฟ้องร้องเจ้าหนี้ว่าไม่มีสิทธิ์มาทวงแบบนั้น ... ดีมั้ยล่ะ

จะโทษสังคม สื่อ หรือกระแสทุนนิยมอะไรก็ช่าง ความจริงคือ เมื่อเราไม่มีเงินก็ไม่ควรใช้
เพราะว่าเกือบทุกคนย่อมคิดว่าเดี๋ยวก็หาทางมาจ่ายคืนได้ -- คำว่า "จ่ายคืน" นั้นแหละที่สำคัญมาก
เมื่อไหร่ที่ต้องจ่ายคืน นั่นแปลว่าตอนนี้ไม่มีเงิน และควรยอมรับว่าเมื่อเงินไม่เพียงพอก็ไม่ควรใช้

เคยมีกระทู้คุยกันเรื่องเกม ไปๆมาๆก็มีคนถามว่ามีกี่คนที่ซื้อเกมของจริงกันบ้าง
เดาไม่ยากว่าคนซื้อของปลอมมากกว่าอยู่แล้ว แต่ว่ามีคนที่ซื้อของปลอมที่ออกมาด่าสินค้าของจริงนี่สิ
เขาบอกว่าเงินเดือน 8,000-9,000 จะให้ซื้อเกมราคา 500-600 เดือนละ 2-3 เกมได้ยังไง
ตรงนี้แหละที่เป็นปัญหา คนที่เงินเดือนเท่านั้นกลับไม่รู้ตัวว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่สมควรซื้อเกมมาเล่นด้วยซ้ำ
มันไม่ใช่สินค้าที่ target มาที่ตัวเขาแต่แรก และการเอาเงินเดือนมาอ้างเป็นเหตุผลซื้อของปลอมก็ไม่ใช่ที่
ผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเหมาะสมไม่มีใครเค้าซื้อเกมเดือนละ 10 เกม หรือเพลงเดือนละ 100 อัลบั้มหรอก
แต่เค้าต้องรู้จักหาข้อมูล-คัด-เลือก ก่อนที่จะตัดสินใจจ่ายเงิน ต้องรู้ตัวว่าของนั้นคุ้มค่าและจำเป็นแค่ไหน

พูดเรื่องหนี้ เรื่องรายได้ แล้วก็อยากพูดเรื่องเงินเก็บหรือการออมสักหน่อย พอดีไปอยู่ในวงสนทนาเรื่องนี้มา
เค้าบอกว่าคนสมัยนี้ (โดยเฉพาะผู้หญิง) ดูเหมือนจะสนใจเรื่องการออมมากขึ้น แต่กลับมีการออมจริงน้อย
ปัจจัยน่าจะมีเรื่องความหลากหลายของหนี้ที่มีให้เลือกเป็นส่วนกระกอบสำคัญ และที่เหลือก็เป็นเรื่องขาดการวางแผน
มีคนบอกให้ลองคิดดูเล่นๆ: ถ้าให้เก็บเงินเดือนละ 20,000 คิดว่าเยอะมั้ย? (เยอะ - เงินเดือนเราทำไม่ได้)
แต่การเก็บเดือนละ 20,000 เนี่ยจะทำให้ปีนึงมีเงินเก็บ 240,000 ถ้าเก็บเท่านี้สิบปีจะได้ 2,400,000
บวกเพิ่มโบนัส และเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นอาจจะทำให้มีเงินใกล้ๆ 3,500,000 ได้ -- ถามว่าเยอะมั้ย: ไม่เลย!
การที่ทำงานไปอีกสิบปีเก็บเงินได้ 3.5 ล้านนี่มันออกจะน้อยด้วยซ้ำ ยังไม่สามารถซื้อบ้านในยุคปัจจุบันได้เลย
แบบนี้เรายังต้องทำงานไปอีกกี่ปีกว่าเราจะมีเงินเก็บพอที่จะเลิกทำงานได้?? คงนานจนไม่อยากนึกเลยล่ะ

ถ้าแบบนี้ก็ควรจะต้องมาคิดกันก่อนว่าอยากทำงานจนถึงอายุเท่าไหร่ และค่าใช้จ่ายในช่วงชีวิตที่เหลือต้องใช้เท่าไหร่
แล้วก็คิดย้อนกลับมาว่าต้องมีเงินเก็บในแต่ละช่วงเป็นเท่าไหร่ และสำคัญที่สุดคือทำยังไงถึงจะมีเงินเก็บให้ได้เท่านั้น
จริงๆการออมรูปแบบต่างๆมันมีข้อดี/เสียต่างกันไป บางอันลดหย่อนภาษีได้ บางอันให้ความคุ้มครองสุขภาพ
แต่ทุกวันนี้คนที่รู้ข้อมูลทั้งหมดและให้คำแนะนำด้านการออมและด้านการบริหารเงินส่วนตัวได้นั้นมีน้อยจริงๆ
คนที่รู้(มากบ้างน้อยบ้าง) ก็ทำงานให้กับสถาบันการเงิน และแนะนำแต่ product การออมที่บริษัทตัวเองมี

ข้อคิดที่ได้จากการเขียน entry วันนี้คือ:
- ถามตัวเองว่าสิ่งที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้มันจะทำให้เรามีชีวิตแบบที่เราต้องการได้จริงหรือไม่
- คิดว่าทำยังไงถึงจะทำให้เงินที่เราพอจะออมได้ในแต่ละเดือนงอกเงยไปเท่าที่เราต้องการจริงๆได้
- น่าจะมีบริการให้คำปรึกษาด้าน personal wealth management แบบเป็นกลาง

จบเท่านี้ครับ

3 comments:

  1. เราไม่มีบัตรเครดิตอ่ะ

    เช๊ย ... เชย เน๊อะ

    ReplyDelete
  2. มันคงไม่ใช่เชยหรือไม่เชยมั้งครับ

    จริงๆมันเป็นของที่ถ้าไม่รู้สึกว่าจำเป็นก็ไม่ควรจะต้องมี

    และถึงมีก็ไม่จำเป็นต้องพกตลอด

    และถึงพกก็ไม่จำเป็นต้องใช้กับทุกอย่างที่อยากได้

    ReplyDelete
  3. ขอบคุณมากครับสำหรับบทความ

    ReplyDelete