
[image by: resa & krister @ flickr]
"การ simplify ถือเป็นหัวใจสำคัญของงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องการการสร้างโมเดล
แม้ว่าจิตใต้สำนึกของเราจะอยากให้แบบจำลองของเรามีความซับซ้อน
เพราะผู้อื่นที่สนใจงานของเราจะสามารถทำความเข้าใจผลงานได้ง่าย
จุดนี้ต่างกับงานศิลปะอยู่บ้างตรงที่ภาระนี้ตกอยู่กับผู้สร้างผลงาน
ในขณะที่ทางศิลปะภาระนี้ตกอยู่กับผู้ชมผลงาน
น่าจะมีวิชา research paper appreciationบ้างแฮะ"
Curse of Simplification by Plop
จาก Entry ที่คุณ Plop เขียนล่าสุดนี้ เราเลยนึกถึงอะไรบางอย่างขึ้นมา
มีคืนหนึ่งเรานั่งคุยกับน้องที่ติสต์แดกมากๆคนหนึ่ง ในตอนที่มึนเมากันทั้งคู่
เราบอกเค้าว่าจริงๆแล้วทุกๆอย่างที่เราทำกันมันถือได้ว่าเป็นงานศิลปะทั้งนั้น
โดยเฉพาะการทำการตลาดที่เราคิดว่ามันเป็นศิลปะที่ซับซ้อนมากๆ
คือเรารู้สึกว่าถ้าหากสิ่งที่ทำมันเกิดจากความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของงานที่เราทำ
หากเรารู้ข้อจำกัด เงื่อนไข กติกา และวิธีการใช้เครื่องมือที่มีอยู่
บวกเข้ากับสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร และเป้าหมายที่เราอยากจะทำให้สำเร็จ
นั่นก็น่าจะทำให้มันเป็นงานศิลปะได้เหมือนกัน
ลองนึกถึง surfer หรือคนเล่นกระดานโต้คลื่น (ที่เราเล่นไม่เป็นเหมือนกัน)
มันก็มีคนที่เล่นไม่เป็นเลย พอเล่นเป็น เล่นได้ดี และคนที่โคตรจะเก่งใช่มั้ย
คนที่พอจะเล่นได้นิดหน่อย ก็คือคนที่รู้พื้นฐานวิธีเล่น แต่ทำอะไรได้ไม่มาก
คนที่เล่นได้ดีคือเริ่มมีเทคนิคที่สูงขึ้น และรู้ว่าจะทำอะไรเมื่อไหร่
ส่วนคนที่โคตรเก่งคือคนที่รู้เทคนิค และอ่านกระแสคลื่นกระแสลมได้ครบถ้วน
ถ้าเรามีทั้งเทคนิคและความรู้ของงานนั้นๆ เราก็จะสามารถทำสิ่งที่เราต้องการได้ดังใจ
การตลาดก็เหมือนกันคือเราต้องรู้ก่อนว่าเรามีเครื่องมืออะไรเทคนิคอะไรอยู่บ้าง (ซึ่งเยอะมากๆ)
และที่ยากกว่านั้นคือการเข้าใจกติกาสภาพแวดล้อมของสิ่งที่เราทำ นั่นคือเข้าใจผู้บริโภค และตลาด
นักการตลาดบางคนเข้าใจวิธีทำแต่ไม่เข้าใจสภาแวดล้อมก็ทำได้แค่ยืนบนกระดานโต้คลื่น
บางคนก็เก่งเรื่องผู้บริโภคมากๆแต่ไม่รู้ว่าจะเอาความรู้นั้นไปทำอะไรต่อได้
คนที่เก่งจริงๆคือคนที่รู้และเข้าใจทั้งสองด้าน รวมไปถึงเข้าใจตนเองว่าต้องการอะไร
ต้องหาเครื่องมือวิธีการที่จะทำให้ผู้บริโภครับรู้และคล้อยตาม
ทั้งหมดนี่มันเริ่มมาจากความต้องการให้คนเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรากำลังบอก
และนั่นน่าจะยากกว่างานศิลปะหลายๆแบบด้วยซ้ำ ที่เกิดจากตัวศิลปินเองคนเดียว
จิตใจของศิลปินอาจจะคิดว่าแค่หาทางถ่ายทอดสารของตนออกไปให้ได้ครบถ้วนก็พอ
คนจะชอบก็ช่าง ไม่ชอบก็ช่าง งานมันสำเร็จเมื่อชิ้นงานเสร็จ
ถ้าคิดมากกว่านั้นอาจจะไม่นับถือตัวเองเป็นศิลปิน
แต่งานของคนทำการตลาดมันไม่ได้จบเมื่อลงมือทำเสร็จสิ้น
มันไปจบตอนที่เรารู้ว่าผู้บริโภครับรู้และคิดตามที่เราต้องการแล้วต่างหาก
ไม่ได้เครียดใช่มั้ย
ReplyDeleteไม่เลยครับพี่ ... จริงๆ (เสียงต่ำ)
ReplyDeleteงาน marketing มองจากมุมมองทั้ง art และ science ได้แฮะ อาจจะ art เยอะหน่อยถ้าพูดถึง practice คนทำ marketing ไม่ต้องนึกถึง science แล้วทำออกมาดีก็คงมีไม่น้อย แต่ถ้ามองเป็น science มันก็มองได้ เราต้องรู้จัก awareness รู้จัก mixes (จำทฤษฎีไม่ค่อยได้แฮะ) แต่ผมคิดว่ามันเป็นแขนงที่ art dominance อย่างแรงเลย
ReplyDeleteเขียนต่อเถอะ